จิตวิทยาการเรียนการสอน
ความหมายของจิตวิทยา
จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา ตามรูปศัพท์ จิตวิทยาจึงแปลว่า
วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ
แต่ในปัจจุบันี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป
ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ
จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษากี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา
จิตวิทยาได้เริ่มขึ้นโดยนักปราชญ์ชาวกรีก
ชื่อ เพลโต และ อริสโตเติล เพลโตเชื่อว่าการคิดและการใช้เหตุผลเท่านั้น
ที่ทำให้คนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เขาสามารถจะเข้าใจได้
โดยไม่สนใจวิธีการสังเกตหรือการทดลองใด ๆ
แต่อริสโตเติลกลับเป็นนักสังเกตสิ่งรอบตัว เขาสนใจสิ่งภายนอกที่มองเห็นได้
การเข้าใจปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับคนต้องเริ่มด้วยการสังเกตอย่างมีระบบ
ความสำคัญของจิตวิทยา
๑.รู้จัก
เข้าใจ และยอมรับธรรมชาติของตนเอง
และผู้อื่นทำให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
๒.
ทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ในสถานการณ์ต่างๆเพื่อจะได้คาดคะเนหรือพยากรณ์ล่วงหน้าและควบคุมการเกิดและไม่ให้เกิดพฤติกรรมนั้นๆ
นอกจากนี้
จิตวิทยามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อผู้นำหรือผู้บังคับบัญชา ซึ่งจะต้องมีความสามารถในการบังคับบัญชา
จูงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ มีความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงาน ยอมรับนับถือผู้บังคับบัญชาอย่างจริงใจ
ผู้นำจะต้องมีความเข้าใจหลักจิตวิทยาในการปกครอง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชา แก้ปัญหาในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา
พัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดจนบำรุงรักษาผู้ใต้บังคับบัญชาให้อยู่ในหน่วยงาน
ลักษณะของจิตมนุษย์
จิตใจ
เป็นคำที่มีความหมายหลายๆด้านตามแนวคิดของกลุ่มนักจิตวิทยาต่าง ๆ
ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงจิตใจตามวิเคราะห์
ฟรอยด์ (Freud)
เชื่อว่าจิตของมนุษย์แบ่งเป็น ๓
ระดับ (Three Leveis
of Consciousness)
เปรียบเทียบเสมือนก้อนน้ำแข็งลอยอยู่ในทะเล คือ
๑. จิตสำนึก
(Conscious) คือสภาวะที่มีสติ รู้ตัว
รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่หรือกำลังจะทำอะไรรู้จักตัวเองว่าเป็นใคร ต้องการอะไร ทำอะไรอยู่ที่ไหน กำลังรู้สึกอย่างไรต่อสิ่งใด
การแสดงอะไรออกไปที่แสดงไปตามหลักเหตุผลเปรียบได้กับส่วนของก้อนน้ำแข็งที่โผล่ผิวน้ำขึ้นมามีจำนวนน้อยมาก
๒. จิตใต้สำนึก
(Subconscious ) หรือ จิตก่อนสำนึก
(Preconscious)
คือสภาพที่ไม่รู้ตัวในบางขณะ
เช่น กระดิกเท้า ผิวปาก
ฮัมเพลงโดยไม่รู้ตัว
ยิ้มคนเดียวโดยไม่รู้ตัว
พูดอะไรออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ
และประสบการณ์ต่างๆที่เก็บไว้ในรูปของความทรงจำ เช่น ความประทับใจในอดีต ถ้าไม่นึกถึงก็ไม่รู้สึกอะไร
แต่ถ้าทบทวนเหตุการณ์ทีไรก็ทำให้เกิดปลื้มใจทุกที
เปรียบได้กับส่วนของก้อนน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำ
๓. จิตไร้สำนึก
(unconscious)
เป็นส่วนของจิตที่ใหญ่ที่สุด
และมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์
และเป็นส่วนที่ไม่รู้สึกตัวเลย อาจมาจากเจ้าตัวพยายามเก็บกดเอาไว้ เช่น
เกลียดครู หรือพยายามที่จะลืม แล้วในที่สุดก็ลืมๆไป ดูเหมือนไปจริงๆ แต่ที่จริงไม่ได้หายไปไหน ยังอยู่ในตัวลักษณะจิตไร้สำนึก
และจะแสดงออกมาในรูปความฝัน การละเมอ
เปรียบได้ส่วนของน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำ
นอกจากนี้
ฟรอยด์ ได้ศึกษาองค์ประกอบของจิต พบว่า โครงสร้างของจิตประกอบด้วย(The
Components of Mind) ไว้ ๓
ส่วนคือ
๑. อิด (ID) หมายถึง ตัณหา
หรือ ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
เป็นสิ่งที่ยังไม่ขัดเกลา
ซึ่งทำให้มนุษย์ทำทุกอย่างเพื่อความพึงพอใจ หรือทำงานตามความพึงพอใจ โดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด เปรียบเสมือนสันดานดิบของมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็นสัญชาตญาณแห่งการมีชีวิต (LIEF
INSTINCT) เป็นความต้องการอาหาร ความต้องการทางเพศ ความต้องการหลีกหนีจากอันตราย และสัญชาตญาณแห่งการตาย (DEATH INSTINCT) เช่น
ความต้องการก้าวร้าว หรือการทำอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น เป็นต้น
๒. อีโก้
(EGO) หมายถึง
ส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมที่เกิดจากความต้องการของ ID โดยอาศัยกฎเกณฑ์ทางสังคม และหลักแห่งความเจริญมาช่วยในการตัดสินใจ
ไม่ใช่แสดงออกมาความพึงพอใจของตนเองเพียงอย่างเดียวแต่ต้องคิดและแสดงออกอย่างมีเหตุผล
๓. ซุปเปอร์อีโก้
(SUPEREGO) หมายถึง มโนธรรมหรือจิต ส่วนที่ได้รับการพัฒนามาจากประสบการณ์ การอบรมสั่งสอน หรือ
กระบวนการทางสังคมประกิต
โดยอาศัยหลักของศีลธรรม จรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณี และค่านิยมต่างๆในสังคมนั้น SUPEREGO
จะเป็นตัวบังคับและควบคุมความคิดให้แสดงออกในลักษณะที่เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
โครงสร้างจิตนี้
จะมีความสัมพันธ์กัน ถ้าทำงานสัมพันธ์กันดีการแสดงออกหรือบุคลิกภาพก็เหมาะสมกับตน แต่ถ้าโครงสร้างทั้ง ๓
ระบบ ทำหน้าที่ขัดแย้งกัน
บุคคลก็จะมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้
ความหมายของการเรียนรู้
นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่น
นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่น
- คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
- ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981) "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตาม สัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์ "
- คอนบาค ( Cronbach ) "การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา "
- พจนานุกรมของเวบสเตอร์ (Webster 's Third New International Dictionary) "การเรียนรู้ คือ กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"
- ประดินันท์ อุปรมัย (2540, ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้) : นนทบุรี, พิมพ์ครั้งที่ 15, หน้า 121) การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับ ประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจาก เดิม ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรง และประสบการณ์ทางอ้อม
ประสบการณ์ทางตรง คือ ประสบการณ์ที่บุคคลได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเอง เช่น
เด็กเล็กๆ ที่ยังไม่เคยรู้จักหรือเรียนรู้คำว่า “ร้อน” เวลาที่คลานเข้าไปใกล้กาน้ำร้อน
แล้วผู้ใหญ่บอกว่าร้อน และห้ามคลานเข้าไปหา เด็กย่อมไม่เข้าใจและคงคลานเข้าไปหาอยู่อีก จนกว่าจะได้ใช้มือหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปสัมผัสกาน้ำร้อน จึงจะรู้ว่ากาน้ำที่ว่าร้อนนั้นเป็นอย่างไร ต่อไป เมื่อเขาเห็นกาน้ำอีกแล้วผู้ใหญ่บอกว่ากาน้ำนั้นร้อนเขาจะไม่คลานเข้าไปจับ กาน้ำนั้น เพราะเกิดการเรียนรู้คำว่าร้อนที่ผู้ใหญ่บอกแล้ว เช่นนี้กล่าวได้ว่า
ประสบการณ์ ตรงมีผลทำให้เกิดการเรียนรู้เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เผชิญกับ สถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ในการมีประสบการณ์ตรงบางอย่างอาจทำให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่ไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้
ได้แก่
- พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากฤทธิ์ยา หรือสิ่งเสพติดบางอย่าง
- พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเจ็บป่วยทางกายหรือทางใจ
- พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเหนื่อยล้าของร่างกาย
- พฤติกรรมที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนต่างๆ
ประสบการณ์ทางอ้อม คือ ประสบการณ์ที่ผู้เรียนมิได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเองโดยตรง แต่อาจได้รับประสบการณ์ทางอ้อมจาก การอบรมสั่งสอนหรือการบอกเล่า การอ่านหนังสือต่างๆ
และการรับรู้จากสื่อมวลชนต่างๆ
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย บลูม และคณะ (Bloom and Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน 3 ด้าน ดังนี้
- ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และประเมินผล
- ด้านเจตพิสัย (Affective Domain ) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม
- ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท การเคลื่อนไหว การกระทำ การปฏิบัติงาน การมีทักษะและความชำนาญ
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ (Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ (Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
- แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
- สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึงครู กิจกรรมการสอน และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ที่ครูนำมาใช้
- การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง คำพูด การคิด การรับรู้ ความสนใจ และความรู้สึก เป็นต้น
- การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อม โยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก
หลักการสำคัญ
1.
มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2.
มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3.
มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4.
มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน
จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน
ประการแรก
มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการ สอน
ประการที่สอง
นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
-
ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
-
ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
-
ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
-
ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น
แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ
วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา
การศึกษาทางจิตวิทยาใช้หลายๆ วิธีการมาผสมผสานและทำการวิเคราะห์บนสมมุติฐาน นักจิตวิทยาจะใช้วิธีการต่างๆ
ดังต่อไปนี้เช่น การตรวจสอบตนเอง การสังเกต การศึกษาบุคคลเป็นรายกรณี การสัมภาษณ์ การทดสอบ ดังจะอธิบายเรียงตามลำดับต่อไปนี้
1. การตรวจสอบตนเอง
(Introspection) หมายถึง วิธีการให้บุคคลสำรวจ ตรวจสอบตนเองด้วยการย้อนทบทวนการกระทำและความรู้สึกนึกคิดของตนเองในอดีต ที่ผ่านมา
แล้วบอกความรู้สึกออกมา โดยการอธิบายถึงสาเหตุและผลของการกระทำในเรื่องต่าง
ๆ เช่น ต้องการทราบว่าทำไมเด็กนักเรียนคนหนึ่งจึงชอบพูดปดเสมอ
ๆ ก็ให้เล่าเหตุหรือเหตุการณ์ในอดีต ที่เป็นสาเหตุให้มีพฤติกรรมเช่นนั้นก็จะทำให้ทราบที่มาของพฤติกรรมและได้แนว ทางในการที่จะช่วยเหลือแก้ไขพฤติกรรมดังกล่าวได้
การตรวจสอบตนเองจะได้รับข้อมูลตรงตามความเป็นจริงและเป็นประโยชน์ เพราะผู้รายงานที่มีประสบการณ์และอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆ แต่หากผู้รายงานจดจำเหตุการณ์ได้แม่นยำ และมีความจริงใจในการรายงานอย่างซื่อสัตย์ไม่ปิดบัง และบิดเบือนความจริง แต่หากผู้รายงานจำเหตุการณ์หรือเรื่องราวไม่ได้หรือไม่ต้องการรายงานข้อมูล ที่แท้จริงให้ทราบก็จะทำให้การตี
ความ หมายของเรื่องราวต่างๆ หรือเหตุการณ์ผิดพลาดไม่ตรงตามข้อเท็จจริง
2. การสังเกต (Observation) หมายถึง การเฝ้าดูพฤติกรรมในสถานการณ์ที่เป็นจริง
อย่างมีจุดมุ่งหมาย โดยไม่ให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัว การสังเกตแบ่งเป็น
2 ลักษณะคือ
2.1 การสังเกตอย่างมีแบบแผน ( Formal Observation
) หมายถึง การสังเกตที่มีการเตรียมการล่วงหน้า มีการวางแผน มีกำหนดเวลา สถานการณ์ สถานที่
พฤติกรรมและบุคคลที่จะสังเกต ไว้เรียบร้อยเมื่อถึงเวลาที่นักจิตวิทยาวางแผนก็จะเริ่มทำการสังเกตพฤติกรรม ตามที่กำหนดและผู้สังเกตพฤติกรรมจะจดพฤติกรรมทุกอย่างในช่วงเวลานั้นอย่าง ตรงไปตรงมา
2.2 การสังเกตอย่างไม่มีแบบแผน (
Informal Observation ) หมายถึง การสังเกตโดยไม่ต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าหรือวางแผนล่วงหน้า แต่สังเกตตามความสะดวกของผู้สังเกตคือจะสังเกตช่วงเวลาใดก็ได้แล้วทำการจด บันทึกพฤติกรรมที่ตนเห็นอย่างตรงไปตรงมา
การสังเกตช่วยให้ได้ข้อมูลละเอียด ชัดเจน และตรงไปตรงมา เช่น การสังเกต
อารมณ์ ความรู้สึกของบุคคลต่อสถานการณ์ต่าง ๆ จะทำให้เห็นพฤติกรรมได้ชัดเจนกว่าการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการอื่น ๆ แต่การสังเกตที่ดีมีคุณภาพ มีส่วนประกอบหลายอย่าง เช่น ผู้สังเกตจะต้องมีใจเป็นกลางไม่อคติหรือลำเอียงอย่างหนึ่งอย่างใด และสังเกตได้ทั่วถึง ครอบคลุม สังเกตหลาย ๆ สถานการณ์หลาย
ๆ หรือหลายๆ พฤติกรรม และใช้เวลาในการสังเกต ตลอดจนการจดบันทึกการสังเกตอย่างตรงไปตรงมา และแยกการบันทึกพฤติกรรมจากการตีความไม่ปะปนกัน ก็จะทำให้การสังเกตได้ข้อมูลตรงตาม
ความเป็นจริงและนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดมุ่งหมาย
3. การศึกษาบุคคลเป็นรายกรณี (Case Study) หมายถึง การศึกษารายละเอียดต่าง
ๆที่สำคัญของบุคคล แต่ต้องใช้เวลาศึกษาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้วรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์พิจารณา ตีความเพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุของพฤติกรรม หรือลักษณะพิเศษที่ผู้ศึกษาต้องการทราบทั้งนี้เพื่อจะได้หาทางช่วยเหลือ แก้ไขปรับปรุง
ตลอดจนส่งเสริมพฤติกรรมให้เป็นไปในทาง สร้างสรรค์ที่สำคัญของบุคคล แต่ต้องใช้เวลาศึกษาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้วรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์พิจารณา ตีความเพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุของพฤติกรรม หรือลักษณะพิเศษที่ผู้ศึกษาต้องการทราบ ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลพัฒนาตนเต็มศักยภาพแห่งตน
การสัมภาษณ์ที่ดี จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ของผู้ที่ต้องการศึกษาตั้งแต่เรื่องประวัติ เรื่องราวของครอบครัว ประวัติพัฒนาการ ประวัติสุขภาพ ความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน ความสนใจ ความถนัด เป็นต้น และในการรวบรวมข้อมูลอาจใช้เทคนิควิธีต่าง
ๆ เข้ามาช่วยด้วย เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การใช้แบบทดสอบ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการประมวลให้ได้ข้อมูลให้ละเอียดและตรงจุดให้มากที่สุด
4. การสัมภาษณ์ (Interview) หมายถึง การสนทนากันระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป โดยมีจุดมุ่งหมาย ซึ่งการสัมภาษณ์ก็มีหลายจุดมุ่งหมาย เช่น การสัมภาษณ์เพื่อความคุ้นเคยสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน สัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อ ตลอดจนสัมภาษณ์เพื่อการแนะแนวและการให้คำปรึกษา
เป็นต้น แต่ทั้งการสัมภาษณ์ก็เพื่อให้ได้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต่าง
ๆ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ
การสัมภาษณ์ที่ดี จำเป็นต้องมีการเตรียมการล่วงหน้า วางแผน กำหนดสถานที่ เวลาและเตรียมหัวข้อหรือคำถามในการสัมภาษณ์ และนอกจากนั้นในขณะสัมภาษณ์ผู้สัมภาษณ์ควรจะใช้เทคนิคอื่น
ๆ ประกอบด้วยก็ยิ่งจะได้ผลดี เช่น การสังเกต การฟัง การใช้คำถาม การพูด การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้สัมภาษณ์และผู้สัมภาษณ์ ก็จะช่วยให้การสัมภาษณ์ได้ดำเนินไปด้วยดี
5. การทดสอบ (Testing) หมายถึง การใช้เครื่องมือที่มีเกณฑ์ในการวัดลักษณะของ
พฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งหรือหลายๆ พฤติกรรมโดยให้ผู้รับการทดสอบเป็นผู้ตอบสนองต่อแบบทดสอบซึ่งอาจเป็นแบบทดสอบ ภาษาและแบบปฏิบัติการหรือลงมือทำ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลนั้นตามจุดมุ่งหมายที่ผู้ทดสอบวาง ไว้แบบทดสอบที่นำมาใช้ในการทดสอบหาข้อมูลก็ได้แก่ แบบทดสอบบุคลิกภาพ แบบทดสอบความสนใจ เป็นต้น
การทดสอบก็มีสิ่งที่ควรคำนึงถึงเพื่อผลของข้อมูลที่ได้รับ ซึ่งแบบทดสอบที่นำมาใช้ควรเป็นแบบทดสอบที่เชื่อถือได้เป็นมาตรฐาน ตลอดจนการแปรผลได้อย่างถูกต้อง เป็นต้น
6. การทดสอบ (Experiment) หมายถึง วิธีการรวบรวมข้อมูลที่เป็นระบบ มีขั้นตอนและเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีลำดับขั้นตอนดังนี้ ตั้งปัญหา ตั้งสมมุติฐาน การรวบรวมข้อมูล
การทดสอบสมมุติฐาน การแปลความหมายและรายงานผล ตลอดจนการนำผลที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือส่งเสริมต่อไปการทดลองจึงเป็นการ จัดสภาพการณ์ขึ้นมา เพื่อดูผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มหรือ สถานการณ์ คือ
1. กลุ่มทดลอง
(Experiment Group) คือ กลุ่มที่ได้รับการจัดสภาพการณ์ทดลองเพื่อศึกษาผลที่ปรากฏจากสภาพนั้น เช่น การสอนด้วยเทคนิคระดมพลังสมอง จะทำให้กลุ่มเกิดความคิดสร้างสรรค์หรือไม่
2. กลุ่มควบคุม (Control Group) คือ กลุ่มที่ไม่ได้รับการจัดสภาพการณ์ใด ๆ ทุกอย่างถูกควบคุมให้คงภาพเดิม ใช้เพื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลอง
สิ่งที่ผู้ทดลองต้องการศึกษาเรียกว่า ตัวแปร
ซึ่งมีตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (Independent Variable) และตัวแปรตาม (
Dependent Variable )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น